ผ่าตัดต้อกระจก พิษณุโลก

ผ่าตัดรักษาต้อกระจกและเลนส์แก้วตาเทียมชนิดต่างๆ จ.พิษณุโลก

เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี ปัญหาการมองไม่ชัด มัวเหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้น

ในการมองอาจเข้ามาเยี่ยมเยือน การตรวจเช็กเพื่อดูความผิดปกติของดวงตาคือสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะหากพบว่าเป็นต้อกระจก การรักษาโดยเร็ว

และเหมาะสมโดยจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการจะช่วยให้กลับมามองเห็นชัดอีกครั้ง

การบริการของโรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก

ผ่าตัดต้อกระจก จ.พิษณุโลก
ผ่าตัดต้อกระจก จ.พิษณุโลก

 

ตรวจประเมินก่อนผ่าตัดต้อกระจก

  • จักษุแพทย์ตรวจตาอย่างละเอียด และส่งวัดเลนส์แก้วตาเทียม โดยการวัดความโค้งกระจกตาและความยาวลูกตา ก่อนขยายม่านตา เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องที่สุดไปคำนวณ และเลือกเลนส์ที่เหมาะสม เพื่อใส่ในตาและทำให้กลับมามองเห็นชัดอีกครั้ง โดยจะมีการตรวจขยายม่านตา ดูลักษณะต้อกระจกและดูจอประสาทตาอย่างละเอียด และให้ข้อมูลเรื่องเลนส์เทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
  • แพทย์และพยาบาลสอบถามเรื่องโรคประจำตัวและยาที่ใช้ประจำ ยาบางประเภทควรหยุดก่อนการผ่าตัด เช่น ยา
    กลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด ยาอื่น ๆ ส่วนใหญ่ควรทานตามปกติ
  • กรณีถ้ามียาละลายลิ่มเลือด จักษุแพทย์จะปรึกษาอายุรแพทย์ว่าสามารถหยุดยา 5 – 7 วัน ก่อนผ่าตัดได้หรือไม่ แล้วแต่ชนิดของยา เช่น Aspirin (ASA), Plavix, Pletaal, Warfarin, Heparin

ผ่าตัดต้อกระจก

สลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens)

วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ ทำภายใต้การหยอดยาชาหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • จักษุแพทย์จะเปิดช่องเล็ก ๆ ที่ขอบตาดำประมาณ 2.4 – 3 มิลลิเมตร แล้วสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก โดยเปิดถุงหุ้มเลนส์เป็นวงกลม และปล่อยพลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกจนหมด
  • จักษุแพทย์ใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ในถุงหุ้มเลนส์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนเหมือนก่อนเป็นต้อกระจก โดยจะเลือกเลนส์เทียมชนิดใดขึ้นกับความต้องการการใช้สายตาของผู้ป่วย เช่น เลนส์ชัดระยะเดียวหรือชัดหลายระยะ และลักษณะตาของผู้ป่วย เช่น ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยอาจใช้เลนส์เทียมชนิดแก้เอียง เป็นต้น
  •  แผลมีขนาดเล็กมากจึงสมานตัวเป็นปกติได้โดยไม่ต้องเย็บแผลในผู้ป่วยส่วนใหญ่
  • ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นเมื่อเปิดตาในวันรุ่งขึ้นและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ผู้ป่วยต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าดวงตาหลังการสลายต้อกระจกตามระยะเวลาที่จักษุแพทย์กำหนด (2 – 4 สัปดาห์) พร้อมทำความสะอาดรอบดวงตา รับประทานยา และหยอดยาตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด

ชนิดของเลนส์แก้วตาเทียม

ปัจจุบันเลนส์สำหรับใส่ในการผ่าตัดด้วยเครื่องสลายต้อจะเป็นเลนส์เทียมที่สามารถพับได้ สามารถใส่เลนส์ผ่านแผลเล็ก ๆ ที่กระจกตาหลังสลายต้อกระตกแล้ว เลนส์แก้วตาเทียมมีหลายชนิด ชนิดหลัก ๆ คือชัดระยะเดียวกับแบบชัดหลายระยะ ซึ่งในแต่ละประเภทจะมีแบบที่สามารถแก้สายตาเอียงไปด้วยในตัวถ้าผู้ป่วยมีค่าสายตาเอียง ดังนี้
กรณีไม่มีสายตาเอียงจากกระจกตาเลนส์เทียมที่มีให้เลือกคือ

  • เลนส์ชัดระยะเดียว หรือ Monofocal มีระยะชัดเพียงที่เดียว มักเลือกให้ชัดที่ไกล มองใกล้ต้องใส่แว่นอ่านหนังสือ
  • เลนส์ชัดหลายระยะ หรือ Multifocal หลังผ่าสามารถมองได้ชัดในหลาย ๆ ระยะด้วยตาเปล่า ลดการพึ่งพาแว่นในการมองระยะต่าง ๆ ได้
    1. เลนส์ชัด 2 ระยะ หรือ Bifocal และ EDOF สามารถเลือกได้ว่าจะชัดที่ไกลและใกล้ (อ่านหนังสือ) หรือ ไกลและกลาง (จอคอมพิวเตอร์) แล้วแต่ชนิดของเลนส์
    2.เลนส์ชัด 3 ระยะ หรือ Trifocal จะมองเห็นระยะ ไกล กลาง และใกล้ได้ต่อเนื่องมากขึ้น ลดการพึ่งพาแว่น

เตรียมตัวผ่าตัดต้อกระจก

  1. การผ่าตัดต้อกระจกมักทำเป็นแบบผู้ป่วยนอก สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด ส่วนใหญ่ไม่ต้องพักที่โรงพยาบาล โดยการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ได้แก่
    ใส่เสื้อสวมสบายถอดใส่ง่าย
  2. สระผมและล้างหน้าก่อนมาถึงโรงพยาบาล
  3. เมื่อมาถึงโรงพยาบาลจะมีการหยอดยาชา ยาขยายม่านตา และยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าห้องผ่าตัด โดยยาชามีทั้งการหยอดยาชา หรือฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าด้านหลังลูกตา แต่ถ้ากลัวหรือกังวลสามารถดมยาสลบทำได้
  4. ขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกจะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที โดยทำในห้องผ่าตัดใหญ่ปลอดเชื้อ ผู้ป่วยจะรู้ตัวขณะผ่าตัด แต่จะรู้สึกผ่อนคลายและไม่เจ็บ อาจมีการเห็นแสงและการขยับไปมาของแสง หรือรู้สึกโดนกดตา แต่ไม่เจ็บเหมือนโดนมีดบาด
  5. หลังผ่าตัดต้อกระจกเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยจะพักในห้องพักฟื้นประมาณ 30 นาทีแล้วจึงกลับบ้านได้ ในกรณีที่ไม่ได้ให้ยาสลบ กินยาตามที่แพทย์สั่ง แต่ยังไม่ต้องเปิดตาหยอดยา

ดูแลหลังผ่าตัดต้อกระจก

  1. สวมแว่นตากันลมหรือแว่นตากันแดด เพื่อป้องกันการขยี้ตาและป้องกันการเกิดการกระทบกระเทือนที่ดวงตา
  2. ก่อนนอนทุกคืนให้ครอบตาข้างที่สลายต้อกระจกด้วยฝาครอบตา เพื่อป้องกันการขยี้ตาในระหว่างการนอนอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  3. ระวังอย่าให้ตาข้างนั้นโดนกระแทกโดยตรงอย่างรุนแรง
  4. ห้ามน้ำเข้าดวงตาโดยเด็ดขาด ตามระยะเวลาที่จักษุแพทย์กำหนด (อย่างน้อย 2 สัปดาห์)
  5. ป้องกันเชื้อโรคเข้าดวงตา โดยใช้น้ำเกลือและสำลีเช็ดตาแทนการล้างหน้า
  6. ไม่ควรสระผมด้วยตนเอง ควรนอนหงายให้ผู้อื่นสระผมให้ และในขณะสระผมควรหลับตา เพื่อป้องกันน้ำที่อาจกระเด็นเข้าดวงตาได้
  7. เช็ดทำความสะอาดดวงตาตามวิธีที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  8. ตรวจตาตามนัดของจักษุแพทย์ทุกครั้ง เช่น หลังผ่าตัด 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และทุก ๆ ปีหลังผ่าตัด
  9. ห้ามยกของหนัก
  10. ระวังเรื่องการไอ จาม หรือเบ่งแรง ๆ ท้องผูก

ผลข้างเคียงที่อาจพบ

  1. หลังผ่าตัดระยะแรกต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ ซึ่งพบได้น้อยแต่อันตราย การหยอดยาและดูแลความสะอาดตาอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ลงได้มาก
  2. ภาวะจุดรับภาพบวมหลังผ่าตัด เกิดได้บ้างหลังผ่าตัดในระยะเกิน 1 – 2 สัปดาห์ไปแล้ว โดยจะมีอาการตามัวลงหรือเห็นภาพเบี้ยว สามารถรักษาและกลับมาเป็นปกติได้
  3. หลังผ่าตัดต้อกระจกเป็นระยะเวลานาน ถุงหุ้มเลนส์อาจมีการขุ่นหลังจากใส่เลนส์ไปเป็นเวลาหลายปี สายตาที่เคยเห็นได้ชัดเจนหลังผ่าตัดใหม่ ๆ จะค่อย ๆ มัวลงบ้าง จักษุแพทย์สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยไม่มีความเจ็บปวด ด้วยการใช้เลเซอร์ (Yag Laser) เพื่อขจัดความขุ่นได้ทันที ทำให้กลับมาเห็นชัดเหมือนผ่าตัดใหม่ ๆ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกจักษุ ชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก โทร. 0-5505-1724 ต่อ 4205-4206

แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ