เอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด

Sroke อันตราย! รู้ไวรักษาเร็ว ลดอัตราความเสี่ยง

ภาวะหลอดเลือดในสมอง หรือที่ทุกคนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ Stroke ซึ่งโรคหลอดเลือดในสมอง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  • โรคหลอดเลือดสมองตืบตัน หรือ Ischemic Stroke เกิดจากการสะสมของไขมัน หรือหินปูนบริเวณผนังหลอดเลือดชั้นใน จนทำให้ขนาดของหลอดเลือดค่อยๆ แคบลงหรือตีบ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการลำเลียงเลือดลดลง และรวมถึงสาเหตุจากการปริแตกของคราบไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้ลิ่มเลือดมาเกาะและเกิดเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ในที่สุด
  • โรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ Hemorrhagic Stroke ทันทีที่ผนังหลอดเลือดปริแตก เซลล์สมองจะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทันที ส่งผลต่อเนื้อสมองโดยตรง และภายในระยะเวลาไม่นานเนื้อสมองจะตายลง ทำให้ผู้ป่วยมักเสียชีวิตในเวลาอันสั้น เป็นภาวะที่พบได้มากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีหลอดเลือดโป่งพอง โรคตับ และโรคเลือดผิดปกติ

 

รู้ไว โดยการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด ด้วยเครื่องเอกซเรย์ Bi-Plane DSA

โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก มีบริการเครื่อง Bi-Plane DSA โดยนวัตกรรมที่ทันสมัยสำหรับการแพทย์

จุดเด่นของ Biplane DSA
– ถ่ายภาพได้ 2 ระนาบพร้อมกัน (ด้านหน้าและด้านข้าง)
– ภาพที่ได้มีคุณภาพสูง คมชัด เห็นสายสวนหลอดเลือดขนาดเล็กมากชัดเจน
– ให้ภาพเสมือนจริง เป็นภาพ 3 มิติ ช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเส้นเลือดในส่วนต่าง ๆ ชัดเจน
– ลดความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการตรวจ เพราะฉีดสารทึบรังสีเพียงครั้งเดียว ผู้ป่วยจึงได้รับรังสี และสารทึบรังสีน้อยลง
– แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรคได้สะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคที่ต้องอาศัยการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
– เพิ่มความมั่นใจในผลการตรวจรักษา เสริมศักยภาพการรักษาให้มีประสิทธิภาพ

Biplane
เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด Bi-plane DSA หรือ Biplane Digital Subtraction Angiography ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ตับ หลอดเลือดแขน ขา และหลอดเลือดทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาโรคได้หลายชนิดแบบไม่ต้องผ่าตัด หรือเรียกว่า รังสีร่วมรักษา

 

หลังมีสัญญาณ Stroke ต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที!
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่แสดงอาการแบบเฉียบพลัน ทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการ Stroke ญาติหรือคนใกล้ชิดต้องรีบพาตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้ไวที่สุด เพราะการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย เพื่อแยกชนิดของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นชนิดแตกหรือตีบให้เร็วที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก แพทย์ต้องรีบทำการผ่าตัดคนไข้โดยเร็วที่สุด แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ต้องรีบดำเนินการเพื่อเปิดหลอดเลือดให้เร็วที่สุด โดยผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดยาละลายลิ่มเลือดภายในระยะเวลา 4.30 ชั่วโมง หากเกินเวลาช่วงดังกล่าว หรือหากฉีดยาละลายลิ่มเลือดไม่ได้ผล แพทย์จะใช้ทางเลือกรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป เพื่อลดเลี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต ดังนี้

ให้ยาละลายลิ่มเลือดแดงโดยใช้สายสวน (Intra Arterial Thrombolysis) สำหรับผู้ป่วยที่มาช้าเกินกว่า 3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่และใช้ยาละลายลิ่มเลือดดำไม่ได้ผล แพทย์จะทำการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดแดงไปที่ก้อนลิ่มเลือด และใส่ยาโดยตรงที่ลิ่มเลือดนั้น
ใส่สายสวนลากก้อนเลือด (Clot Retrieval) สำหรับผู้ป่วยที่มารักษาช้า แต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการใส่สายสวนผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบไปจนถึงตำแหน่งที่มีลิ่มเลือดอุดตันอยู่ แล้วจึงใส่ขดลวดขนาดเล็กพิเศษ ทำการคล้องและลากลิ่มเลือดที่อุดตันออกมา
ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดแดง (Carotid Stenting) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของสมองขาดเลือดและตรวจพบหลอดเลือดตีบมากกว่า 50% แต่ไม่สามารถได้เข้ารับการผ่าตัดได้ แพทย์จะใช้ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดแดงจากบริเวณขาหนีบหรือรักแร้ โดยจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง จึงเป็นวิธีรักษาที่มีแค่ในเฉพาะโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่เท่านั้น

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ไม่กลับไปเป็น Stroke ซ้ำอีก?
เนื่องจาก Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง ยังเป็นโรคที่ผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้กลับมาเป็น Stoke ซ้ำสอง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลโรคประจำตัว รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น งดอาหารที่มีไขมันสูง งดอาหารเค็มจัด งดแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่

 

 

 

แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ