ศูนย์บริการฉุกเฉิน เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ (BES)

เพราะชีวิตคือความไม่แน่นอน การเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ป้องกัน และลดความสูญเสียได้ โดยเฉพาะทีมแพทย์และพยาบาลฉุกเฉินที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ เบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาลจะต้องมีความรู้และความชำนาญ รวมทั้งใช้เทคโนโลยี ในการเข้าถึงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เราจึงมี “ศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หรือ BES” ที่ร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลชั้นนำในเครือเพื่อปฐมพยาบาลช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะวิกฤติ ได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

ถัดมาคือ “ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย” เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและปลอดภัยโดยเฮลิคอปเตอร์ และรถเมอร์เตอร์ไซต์ฉุกเฉิน ส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเหมาะสมที่ “ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ” ซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์การช่วยเหลือชีวิตที่ครบครันและทันสมัย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชม.ในการดูแลรักษาผู้ป่วย อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วยจนกระทั่งสามารถกลับไป ใช้ชีวิตที่บ้านได้อย่างปกติ

ศูนย์อุบัติเหตุดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง
ศูนย์อุบัติเหตุดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับ 3 [Trauma Center Level 3]

มาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ ในด้านการดูแลรักษาและป้องกันผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และภาวะทุพพลภาพของประชากรในอันดับต้นๆ อันนำมาซึ่งการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ

จากหลักการที่ผู้บาดเจ็บวิกฤตต้องได้รับการดูแลรักษาโดยเร่งด่วน ด้วยบุคคลากรที่ทำงานร่วมกัน จากหลากหลายทีม ที่พร้อมด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความตั้งใจ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำ “มาตรฐานศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บสำหรับประเทศไทย” เพื่อพัฒนาระบบและคุณภาพของการดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่อไป

ระดับของศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ [Level of Trauma Center]

ระดับ 1 – เป็นสถานพยาบาลระดับจังหวัดหรือโรงเรียนแพทย์

  • เป็นศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บระดับแม่ข่าย ให้การบริบาลตติยภูมิครบวงจร [Comprehensive advance-tertiary care] หรือเป็นโรงเรียนแพทย์

ระดับ 2 – เป็นสถานพยาบาลที่สามารถให้นิยามบริบาล [Definitive care] ใกล้เคียงกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 แต่ทำได้ไม่ซับซ้อนเท่า

  • อยู่ในพื้นที่ประชากรหนาแน่น มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากและไม่มีศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 อยู่
  • เป็นองค์กรผู้นำในการฝึกอบรมและพัฒนาระบบควบคุมป้องกันการบาดเจ็บในพื้นที่

ระดับ 3 – เป็นสถานพยาบาลในพื้นที่ซึ่งไม่มีศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2

  • สามารถให้การบริบาลภายใต้มาตรฐานของสถาบันวิชาชีพ
  • มีระบบประสานงานที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2

ระดับ 4 – เป็นสถานพยาบาลในชุมชนหรือท้องถิ่นที่ห่างไกล

  • มีเพียงแพทย์ทั่วไป ไม่ใช่ศัลยแพทย์ แต่สามารถให้การประคองชีพขั้นสูงก่อนส่งต่อ
  • มีระบบประสานงานที่มีประสิทธิภาพกับศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บ ระดับที่ 1 และระดับ 2

จุดเด่นของศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ได้มาตรฐานสากลเปรียบเสมือนไอซียูเคลื่อนที่เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานการแพทย์สหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานขั้นสูงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยเฉพาะ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยระบบจีพีเอสทุกคัน สามารถระบุพิกัดหรือตำแหน่งของตัวรถขณะอยู่บนท้องถนน ทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ใกล้ที่สุดและหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดเพื่อให้การนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลเป็นไปอย่างรวดเร็ว

มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินประจำรถพยาบาลทุกคันและทุกครั้งที่ออกให้บริการ

มีศูนย์สั่งการฉุกเฉินหรือศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน บีอีเอส ทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ เบอร์โทรศัพท์ +66 5521 2222 และ +66 5521 1724  , Call Center 1724 รับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะอยู่ในสายจนกว่ารถพยาบาลจะไปถึงจุดเกิดเหตุ โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง BES Dispatch กับทีมแพทย์ พยาบาลของศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพอย่างเป็นระบบ

มอเตอร์ ไซค์การแพทย์ฉุกเฉิน (BES Motorlance) คือบริการที่รวดเร็วกว่ารถพยาบาล โดยส่งรถ Motorlance เดินทางไปก่อนเพื่อปฐม พยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่รถพยาบาลของศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพจะเข้ามารับผู้ป่วยและนำส่งต่อโรงพยาบาล

เปิดลงทะเบียนผู้ป่วยผ่านโปรแกรม คอมพิวเตอร์และระบบจีพีเอสนำทาง เช่น ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรฯ ที่อยู่ เมื่อผู้ป่วยโทรฯเข้าโปรแกรมจะแสดงข้อมูลพื้นฐานของคนไข้พร้อมแสดงพิกัดและแผนที่ที่อยู่ของคนไข้ จากนั้นระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลกับโรงพยาบาลในเครือที่ใกล้และสามารถเข้าถึงตัวผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับ True ในการพัฒนาและผลิต แอพพลิเคชั่น BES เพื่อให้ผู้ใช้บริการมือถือสมาร์ทโฟนสามารถส่งพิกัดที่อยู่ ณ ปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินมายังศูนย์สั่งการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ BES Dispatch เพื่อทราบพิกัดทุกที่ของผู้ป่วยไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ช่วยให้ไม่เสียเวลาในการค้นหาตำแหน่งของผู้ป่วย ทำให้การช่วยชีวิตเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกจุด โดยใช้ว่า แอพพลิเคชั่น BES i lert u

5.1  แอพพลิเคชั่น BES i lert u
ภายในแอพพลิเคชั่น BES i lert u ประกอบไปด้วย การลงทะเบียนข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้นของผู้โหลด อาทิ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ระบุพิกัด GPS ของบ้านหรือสถานที่หากเกิดเหตุฉุกเฉิน และมี 5 เมนูหลัก สำหรับเลือกใช้บริการ คือ

  • Call to BES : ระบบจะโทรออกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มายังเบอร์โทร 1724 ศูนย์สั่งการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ BES Dispatch เพื่อดำเนินการสอบถามข้อมูลรายละเอียดต่างๆ
  • First Aid : ให้คำแนะนำเป็นคู่มือปฐมพยาบาลการช่วยชีวิตเบื้องต้น ในกรณีฉุกเฉินของเหตุการณ์ต่างๆ อาทิ หมดสติ สำลักสิ่งแปลกปลอมอุดทางเดินหายใจ หอบหืดกำเริบ เจ็บแน่นหน้าอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บาดแผลมีเลือดออก ฯลฯ
  • Video Instruction : แสดงวิดีโอแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) อาหารติดคอ
  • Webpage BES : link ข้อมูลแนะนำการบริการของ BES
  • lert : Emergency Lert แจ้งเหตุฉุกเฉิน คลิกเมนูนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤต เจ้าหน้าที่ BES จะโทรกลับภายใน 30 วินาที เพื่อสอบถามและให้บริการฉุกเฉิน