ผ่าตัดรักษาภาวะตาเหล่ ตาเข

ผ่าตัดรักษาภาวะตาเหล่ ตาเข ก่อนสูญเสียการมองเห็นถาวร

👀 โรคตาเหล่ ตาเข รู้เร็ว = รักษาได้ 👀
หลายคนเข้าใจว่าโรคตาเขหรือตาเหล่ในเด็กสามารถหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ความจริงแล้วไม่สามารถหายได้เอง
การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เสียประสิทธิภาพในการมองเห็นได้อย่างถาวร หากรักษาได้เร็ว ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อเด็กมากที่สุด

ตาเข ตาเหล่ (Strabismus) คือ สภาวะที่ลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกันและทำงานไม่ประสานกัน…เมื่อเวลามองวัตถุเดียวกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติจ้องวัตถุ ส่วนข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในหรือด้านนอก ขึ้นบนหรือลงล่าง ทำให้ตาข้างนั้นไม่ถูกใช้งาน ในขณะที่ ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus) มักพบในเด็กที่บริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายภาวะตาเหล่เข้าใน แต่เมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกสูงขึ้น ภาวะตาเหล่นี้ก็จะหายไป

ตาเหล่ ตาเข เกิดขึ้นได้อย่างไร?

  1. เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นไม่ทราบสาเหตุ เชื่อว่าเป็นความผิดปกติในการบาลานซ์ระหว่างตา2ข้าง
  2. เกิดจากสมองสั่งการกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สมดุลกัน
  3. เกิดจากการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อตาผิดปกติ
  4. เป็นผลจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต หรือทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดตาเขได้
  5. การมองเห็นผิดปกติ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็ก อาจเกิดจากดวงตาข้างนั้นมีภาวะผิดปกติจากโรคบางอย่าง เช่น มะเร็งจอตา ทำให้ตาข้างนั้นมองไม่เห็น ส่งผลให้มีการใช้ตาข้างที่มองไม่เห็นน้อย จึงทำให้ตาข้างนั้นเข
  6. ตาเขจากภาวะเพ่ง โดยทั่วไปเด็กจะเพ่งเก่งกว่าผู้ใหญ่ แต่เด็กบางคนเพ่งได้มากกว่าปกติ รวมถึงเด็กที่สายตามากผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเขได้ยาวจะทำให้เกิดการเพ่ง

ผลกระทบที่เกิดจากภาวะตาเข 

ไม่เพียงสูญเสียความมั่นใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพ หากเป็นในเด็ก ถ้าถึงวัยเข้าโรงเรียนอาจโดนเพื่อนล้อ ทำให้เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน เสียสุขภาพจิต เก็บตัว ไม่มั่นใจ ไปจนถึงส่งผลต่อการเข้าสังคมและการเรียนได้ ส่วนในผู้ใหญ่ ความผิดปกติของดวงตา เป็นจุดที่สังเกตได้ชัดเจนมากกว่าส่วนอื่น ผู้ที่มีภาวะตาเขบางคนพยายามนำผมลงมาปิดตาข้างนั้น ใช้ชีวิตเหมือนปิดบังอะไรบางอย่าง สูญเสียความมั่นใจ ไม่อยากเข้าสังคม เป็นปมด้อย ส่งผลต่อบุคลิกภาพ อีกทั้งทำให้เสียโอกาสในเรื่องอาชีพและอะไรหลายๆ อย่าง ยิ่งหากเป็นตาเขแบบมีความผิดปกติในการมองเห็นด้วยแล้ว ยิ่งทำให้แทบจะใช้ชีวิตเป็นปกติสุขไม่ได้ เพราะฉะนั้น การผ่าตัดเพื่อแก้ไขตาเขจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ตาเขในเด็ก จำเป็นต้องรักษาหรือไม่?

เป้าหมายของการรักษาตาเขในเด็ก เพื่อกำจัดตาขี้เกียจ เพราะตาขี้เกียจนำมาซึ่งตาบอดได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าดวงตาของเด็กกำลังพัฒนา หากเกิดตาเข จะส่งผลให้การใช้งานตาข้างนั้นน้อยลง จนเกิดภาวะตาขี้เกียจ คือทำให้ตาข้างนั้นด้อยพัฒนา หากปล่อยทิ้งไว้ นานอาจส่งผลให้ตาข้างนั้นบอดได้ เพราะฉะนั้นเด็กที่ตาเขควรได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะไม่เพียงส่งผลต่อบุคลิกภาพ แต่หมายถึงอาจทำให้เขาสูญเสียการมองเห็นและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเขาในอนาคต

รู้ได้อย่างไร? ว่าลูกมีภาวะตาเข

สามารถสังเกตได้ตั้งแต่เด็กอายุ 5 เดือนขึ้นไป หากลูกมองหน้าแม่แล้วทำตาแปลกๆ ตาดูเข ให้สงสัยไว้ก่อนและพามาพบแพทย์ เพราะช่วงวัยนี้สามารถตรวจได้แล้วว่ามีภาวะตาเขจริงหรือไม่

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

  1. การสวมแว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุร่วมทำให้มีตาเขออกนอกบางครั้ง
  2. สวมแว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
  3. การฝึกกล้ามเนื้อตา
  4. การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน

หากลูกตาเขร่วมกับภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) ต้องทำอย่างไร?

ในเด็กตาเขที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเข และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาได้ผลช้า ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 2-6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติ ทั้งนี้แต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน

การรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขตาเข 

การผ่าตัดแก้ไขตาเข เป็นการผ่าตัดเล็ก เรียกว่า Muscle correction คือ การเข้าไปจัดกล้ามเนื้อตา ตั้งศูนย์กล้ามเนื้อตาใหม่ให้เป็นปกติ ซึ่งมีหลายเทคนิค โดยจะเลือกใช้เทคนิคใดนั้น แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะตาเข การผ่าตัดแก้ไขตาเข ไม่ยุ่งยาก เป็นการผ่าตัดนอกลูกตา โดยในผู้ใหญ่ใช้แค่ยาชาก็สามารถทำผ่าตัดได้ สำหรับเด็กสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป ซึ่งวิธีการอาจแตกต่างจากผู้ใหญ่บ้างในส่วนที่ต้องใช้ยาสลบ แต่ให้ผลลัพธ์ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

อาการข้างเคียงหลังผ่าตัด

สายตาจะกลับมาตรงทันที โดยอาจมีตาแดงเล็กน้อย และพักฟื้นดวงตาประมาณหนึ่งสัปดาห์ ก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตที่เรียกได้ว่าดีกว่าเดิม เพราะเหมือนได้ชีวิตใหม่ เป็นคนใหม่

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัด

แพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าไว้ 1 วัน จากนั้นจึงเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ สำหรับเด็กเล็กเวลานอนจะใช้ที่ครอบตาปิดเพื่อกันเด็กขยี้ตา ในช่วงสัปดาห์แรกควรหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าตา อาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ การผ่าตัดแทบจะไม่เห็นแผลเป็น หรือร่องรอยเลยต้องพบแพทย์ตามนัด เพื่อดูอาการว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ประโยชน์ที่ได้หลังเข้ารับการรักษา

  1. ทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
  2. รักษาเพื่อการมองเห็นทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างดีขึ้น สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติ
👀 การผ่าตัดแก้ตาเข
#ราคาพิเศษ 50,000 บาท (นอน 1 คืน 2 วัน)
ราคานี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ประโยชน์ที่ได้หลังเข้ารับการรักษา ✨
✅ ทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
✅ รักษาเพื่อการมองเห็นทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างดีขึ้น สามารถมองเห็นภาพเป็น 3 มิติได้ดีขึ้นเป็นปกติ
หมดความกังวลและสงสัยอาการที่คุณเป็นอยู่
📞 โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก โทร. 0-5505-1724
—————————————
แหล่งที่มา :

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Herpangina

โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)

รคติดต่อเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย มักระบาดในช่วงฤดูฝน และพบบ่อยในเด็กอายุ 2 ถึง 10 ปี เป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้จะติดต่อกันได้ในสถานที่ที่มีเด็กๆ อยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก

อ่านต่อ »